เกิดวันที่ 5 มกราคม 2496 เป็นบุตรคนที่ 3 ของแม่ปิ่น ด้วงแสง และพ่อสำราญ ด้วงแสง เป็นชาวจังหวัดชัยนาทมาโดยกำเนิด และมีความใกล้ชิด เสื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ยังเด็ก เนื่องจากครอบครัวของท่ายเป็นครอบครัวที่ฝักไฝ่ในพระพุทธศาสนา คุณแม่ชีแก้วจึงไดซึมซับและสืบทอดการนับถือ และการทำนุบำรุงศาสนามาตั้งแต่วัยเด็ก จึงได้ขออนุญาตจากคุณพ่อคุณแม่ขอบวชเป็นชี เป็นพุทธสาวิกาในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2514 อายุ 18 ปี โดยมี พระอธิการพิน ขนฺติธมฺโม เป็นพระ
อุปัชฌาย์ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการบวช ท่านแม่ชีได้ถวายตัวเป็นศิษย์ศึกษาปฎิบัติธรรมกับหลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก บูรพาจารย์ องค์แรกมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลากว่า 25 ปี ที่คุณแม่แก้วได้เสียสละตนเอง ทำหน้าที่ของนักบวชหญิง
10 กุมภาพันธ์ 2514 ได้ออกบวชเป็นแม่ชี โดยมีพระอธิการพิน ขนฺติธมฺโม เป็นพระอุปชฌาย์ ได้พำนักอยู่วัดเหนือ ตำบงแพรกศรีราชา อำเภอสวรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน
มิถุนายน 2514 – 2531 ได้ติดตามหลงพ่อสังวาลย์ เขมโก มาปฏิบัติภาวนาที่วัดไกลกังวล เขาสารพัดดี วัดทุ่งสามัคคีธรรม
ปี 2531 – 2543 ปฏิบัติภาวนาบนเทือกเขาเขียว
ปี 2543 – 2545 ปฏิบัติภาวนากับแม่ชีอาจารย์คุณแม่อำพัน เนตรวงษ์ สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชี วัดย่านขาด จังหวัดพิษณุโลก
ปี 2545 ก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรมพุทธสาวิกา อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โดยเริ่มก่อสร้างเรือนพัก และศาลาปฏิบัติธรรม เพื่อรองรับผู้มาปฏิบัติธรรมจำนวนมาก
ปี 2552 – ปัจจุบัน ดำเนินการจัดสร้างวัดไทยพุทธสาวิกา พุทธคยา ประเทศอินเดีย เพื่อรองรับคณะสงฆ์ แม่ชี และคณะแสวงบุญ ที่เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศอินเดีย
สุภาษิต – ข้อคิด – เกร็ดธรรม
– ทำเสน่ห์หรือจะสู้ทำความดี ใช้อาคมผูกวิชาหรือจะสู้ความจริงใจ ท่องคาถามัดใจหรือจะเท่าความซื่อสัตย์ เวทมนต์ขลังแค่ไหนก็ไม่ยั่งยืน
– ความดีงามที่แผ่ซ่านออกจากใจ มีอิทธิพลยาวนาน
– ถ้าผูกสัมพันธ์ด้วยความดีจะมีน้ำใจที่ดีต่อกันไปถึงชาติหน้า
– ความชั่วนั้นผูกพันให้ยั่งยืนไม่ได้
– คนรักกันเพราะซึ้งในความดีซึ่งกันและกันความรักจึงไม่จืดจาง จะมีใครรักเพราะในความชั่วไม่มีในโลก – ความชั่วเป็นสาเหตุกินแหนงแคลงใจเป็นเหตุให้ไม่ไว้ใจกัน
– อยู่กับความดีจึงผ่อนคลาย อยู่กับคนชั่วต้องระวังระแวง
– อยู่กับความดีของคนดีเหมือนได้พักผ่อน อยู่ใกล้ความชั่วของคนชั่วย่อมกระวนกระวาย
– คุณธรรม ยังครองโลกอยู่จนถึงทุกวันนี้เป็นหนึ่งเดียว
– ความคิดร้ายต่อผู้อื่นไม่ควรมี ควรคิดทำใจไม่ให้เกิดอกุศลกับผู้อื่น
– จงมีความจริงใจต่อทุกคน แต่อย่าไว้ใจผู้อื่นจนหมดเปลือก อย่าคิดร้ายกับใคร
– ความประมาทจะนำมาซึ่งอันตราย
เมื่อเราเป็นสุขแล้ว จงช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์บ้าง จะทำให้เราไม่เจอความตกต่ำ อย่าไปกลัวผีที่ไหน ผีที่ร้ายที่สุดมันหลอกใจตลอดเวลา การสร้างกุศลนั้น ให้ตั้งใจกระทำเพื่อพัฒนาจิต อย่าทำกุศลเพื่อชื่อเสียงเกียรติยศ อย่าทำกุศลเพื่อเอาหน้า เอาตา ทำความดีให้บริสุทธิ์ จงมีศรัทธาในความดีแล้วทำไป ทำความดีเพื่อความดี เพราะความดีนั้นมีค่าสูงยิ่ง จงศรัทธาในความดี จะอุ้มชูอย่างอัศจรรย์ ธรรมะย่อมคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติธรรม ขอเพียรแต่ว่าทำให้จริงได้จริงทำเล่นได้เล่น ธรรมะของพระพุทธเจ้าสามารถท้าพิสูจน์ได้ทุกกาล ทุกเวลา ขอเพียงให้เรามีศรัทธาจริง แล้วทำให้จริง ประพฤติธรรมะ อย่าเพื่ออย่างอื่น ผู้มีเมตตา ประกอบอุเบกขา จึงช่วยคนสำเร็จ จงรู้จักสงบนิ่งรอคอยโอกาส อันสมควรเหมาะสมแล้วจึงไปช่วย ต้องใช้อุเบกขาวางเฉยไปกำกับ มีปัญญาไปควบคุม ต้องพยายามรับว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม แม้เราปรารถนาดีต้องการช่วยใครแต่ถ้าเกินวิสัย ต้องวางเฉย จึงเป็นเมตตาธรรม เมตตาผู้อื่นแล้วเดือดร้อนตัวเองจึงผิดหลักธรรมนักปฏิบัติธรรมต้องมองตัวเองรักษาจิตตัวเอง ไม่ให้ส่งออกนอกไปดูบุคคลอื่น หรือเรื่องนอกตัวจะทำให้ความเพียรไม่ก้าวหน้า ไม่เป็นผลดีกับผู้ปฏิบัติธรรม เรื่องปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องมองด้านในล้วน ๆ จึงจะก้าวหน้า